Mon. May 6th, 2024

Month: September 2019

5 ข้อต้องรู้ กรมบังคับคดี จะยึดทรัพย์แบบไหนได้บ้าง

การยึดทรัพย์ มีรายละเอียดที่ลูกหนี้ต้องรู้ไว้ เพราะมีความสำคัญอย่างมาก ไม่ใช่ว่าเห็นเจ้าพนักงานบังคับคดีแสดงตนพร้อมเอกสาร ก็ปล่อยให้เค้ายึดเอาทรัพย์สินไปง่าย ๆ เพราะยังมีเงื่อนไขของความเป็นเจ้าของทรัพย์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ไม่สามารถยึดทรัพย์สินเอาไปได้ ถ้าไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข

4 เงื่อนไขการยึดทรัพย์ ในส่วนความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน

เมื่อเหตุการณ์การค้างชำระหนี้ของเรา ดำเนินมาถึงขั้นตอนของการถูกยึดทรัพย์ ก็ไม่ได้หมายความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดี จะยึดได้ทุกสิ่งทุกอย่างเสมอไป เพราะต้องได้รับการยืนยันแน่นอนก่อนว่า ทรัพย์นั้นเป็นของลูกหนี้จริง ๆ หากกระทำการโดยพละการหรือผิดพลาดใด ๆ ไป ก็อาจจะมีความผิดได้เหมือนกัน

ถูกศาลพิพากษาแล้ว กรมบังคับคดีจะเริ่มอายัดเงินเดือนเมื่อไหร่

ขั้นตอนก่อนที่กรมบังคับคดีจะเริ่มอายัดทรัพย์ หรืออายัดเงินเดือน เราต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้ที่จะเริ่มกระบวนการนี้คือเจ้าหนี้ โดยจะเป็นผู้นำคำพิพากษาของศาลไปเขียนคำร้อง และยื่นต่อกรมบังคับคดี เพื่อให้อายัดเงินเดือนของเรา โดยระบุในคำร้องว่า เรา(ลูกหนี้)ไม่ยอมจ่ายหนี้ที่ค้างชำระกันมาเนิ่นนาน ตามที่ศาลได้พิพากษาไปก่อนหน้านี้แล้ว จึงเป็นเหตุผลให้ต้องยื่นคำร้อง พร้อมแนบหลักฐานต่าง ๆ มาด้วย

ลูกหนี้ถูกสืบทรัพย์บังคับคดี แต่ไม่มีทรัพย์สินให้ยึด แล้วจะเกิดอะไรขึ้น

เกริ่นก่อนนิดหนึ่งว่า ก่อนที่จะถึงขั้นตอนของสืบทรัพย์บังคับคดี เราต้องผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะพอควร ทั้งถูกทวงหนี้จากพนักงานทวงหนี้ทางโทรศัพท์ ทั้งขู่ฟ้องศาล (จนกระทั่งฟ้องจริง ๆ) มาต่อที่การทำ haircut หนี้ ตกลงกันไม่ได้ หรือเราไม่มีจ่ายตามที่ได้คุยกัน เจ้าหนี้ก็เลยฟ้องศาล เราก็ยังไม่มีเงินมาจ่ายตามศาลสั่งอีก ก็เลยมาจบลงที่การสืบทรัพย์บังคับคดี ที่ต้องอายัดเงินเดือนและทรัพย์สิน เพื่อเคาะตัวเลขใช้หนี้ที่ค้างกันต่อไป เหลือเท่าไหร่ก็คืนเจ้าทรัพย์

ติดหนี้บัตรเครดิต 6 ใบ รวมเป็นเงินเกือบสองแสน (200,000 บาท) ทำไงดี

หนี้บัตรเครดิต 6 ใบ รวมเป็นเงินเกือบสองแสน เป็นไปได้อยู่แล้วกับตัวเลขยอดหนี้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดแบบนี้ เพราะวงเงินบัตรแต่ละใบก็หลายหมื่นอยู่ ยิ่งคนที่ฐานเงินเดือนเยอะ และช่วงแรก ๆ จ่ายชำระหนี้ดีมาตลอดหลายปี ก็ยิ่งจะได้วงเงินเพิ่มอีกหลายหมื่นต่อบัตร มองในแง่ดีก็คือก็ดี เพราะหากเราใช้เป็น หรือใช้แล้วดอกผลงอกเงยขึ้นมา จนถึงขั้นเอากำไรที่ได้ มาจ่ายชำระส่วนนี้ มองยังไงก็เป็นแหล่งเงินทุนดี ๆ นี่เอง แต่ส่วนใหญ่ที่ใช้ ที่เป็นหนี้กันทุกวันนี้ มันไม่ใช่ไง!! พวกเราใช้เพราะเงินขาดมือกันทั้งนั้น

โดนหมายฟ้องขึ้นศาล หนี้บัตรเครดิตทำไงดี (ที่นี่มีคำตอบ)

หากได้รับหมายฟ้องขึ้นศาลหนี้บัตรเครดิต และก็รู้อยู่แก่ใจว่า ยังไงก็ไม่มีจ่าย เพราะภาระหนี้สินอื่น ๆ ก็ยังมีอีกเยอะ แต่ก็ยังมีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินอยู่ เมื่อได้รับหมายฟ้องก็จะรู้สึกกลัว โดยเฉพาะกลัวการติดคุก ต้องบอกก่อนว่า หนี้บัตรเครดิตเป็นคดีเพ่ง ไม่มีการติดคุกใด ๆ ทั้งสิ้น

5 ข้อห้ามของการเทรด forex (ระวังเข็ดหลาบ)

จริง ๆ การเทรด forex ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ หรือได้รับข้อมูลมาว่า เทรดง่าย ได้เงินเร็ว แล้วก็จบลงที่การOver trade สุดท้ายก็ล้างพอร์ต  หากใครเคยได้ลองสนามมาบ้าง จะรู้ว่า นักเทรดทุกคนต้องมีระบบของตัวเอง ทำตามระบบ ก็จะกำไรและอยู่ยาว ๆ ได้ ซึ่งต้องอาศัยเวลามากพอดู  มาดูข้อแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อยากบอกว่าคือ “ข้อห้าม” และ “อย่าทำ “ เพราะมันจะทำให้คุณมองการเทรด…

7 สิ่งที่คุณไม่เคยเห็นความสำคัญของการออมเงิน

ทำไมต้องออมเงิน? เชื่อไหมว่า มีคนพูดประโยคนี้ ไม่แน่ใจว่า พูดเพราะแค่สนุกปาก หรือออกมาจากความรู้สึกกันแน่ แต่ฟังแล้วรู้สึกของขึ้น…!!  ถ้าเราไม่ออมเงินหรือไม่เอามันไปลงทุนให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นมา แล้วชีวิตของเราในวันที่ฉุกเฉินจะเป็นยังไง ในวันที่เราดูแลตัวเองไม่ได้ แต่เราก็ต้องใช้เงิน เพื่อให้คนที่มาดูแลเค้ามีไว้ใช้จ่ายกับตัวเรานั่นแหละ และอีกสารพัดปัญหาที่เราไม่ได้อยากให้มันเกิด แต่ก็ต้องหาเงินมาแก้ปัญหานั้นอยู่ดี เราไปดูกันว่ามีอะไรที่ทำให้คนเรา ไม่คิดที่จะออมเงินหรือไม่มีเงินเก็บกัน

ทำความเข้าใจ แบล็กลิสต์ (บัญชีดำ) และเครดิตบูโร ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

เครดิตบูโร เวลาที่เราขอยื่นกู้ขอสินเชื่อ ธนาคารก็จะขอเช็คเครดิตบูโรของเรา ถ้าไม่ติดปัญหาว่าเราเคยค้างจ่ายหลายเดือน ก็สบายไป ผ่านฉลุยแน่นอน แต่ถ้าได้ยินประโยคนี้ “ไม่อนุมัติสินเชื่อ เพราะติดแบล็กลิสต์จากเครดิตบูโร” เป็นอันว่าไม่ได้เป็นหนี้แน่นอน (จะดีใจหรือเสียใจดีนะ)