Sun. Nov 3rd, 2024

Tag: สืบทรัพย์ บังคับคดี

รับมือกับหมายศาล หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล และข้อระวังการถูกยึดทรัพย์

ในบทความนี้ จะพูดถึงวิธีการนับอายุความ เพราะหากเรานับเป็นและนับถูกต้อง ก็จะทำให้ไม่ต้องจ่ายหนี้เลยสักบาทเดียว ซึ่งส่วนนี้ก็ต้องไปเขียนคำขอต่อสู้ในศาล เพื่อให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ชนะ แต่หากเป็นหนี้ที่ยังไม่หมดอายุความ และเราไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ ก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการบังคับคดี ซึ่งมีบางเรื่องที่เราต้องระวัง มิเช่นนั้น หนี้หลักหมื่นอาจทำให้สูญบ้านทั้งหลังไปเลยก็ได้ … ไปอ่านกันเลยค่ะ

ทำไม? ยังถูกยึดทรัพย์หลังพ้นระยะเวลา 10 ปี (หมดอายุความตามยึดทรัพย์ไปแล้ว)

หนี้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด เมื่อเป็นคดีความแล้ว เราต้องรู้ก่อนว่าเป็นคดีอะไร เพราะลูกหนี้บางคนโดนเจ้าหนี้ขู่เข้าไป ก็คิดว่าจะต้องไปติดคุกแน่ ๆ แต่จริง ๆ ไม่ใช่เลย และบางคนก็สงสัยว่า หลังจากที่ศาลตัดสินไปแล้ว 10 ปี แต่ทำไมเจ้าหนี้จะมาตามยึดทรัพย์ได้อีก แบบนี้ทำได้หรือไม่? ในบทความนี้มีคำตอบ … ไปอ่านกันเลย

ผู้ค้ำประกันหนี้ กยศ.ต้องรู้!! เมื่อถูกสืบทรัพย์บังคับคดี

มาดูในเรื่องฮอต ๆ ของนักศึกษากันบ้าง ที่จะพูดถึงในบทความนี้คือ “กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)” ที่เด็ก ๆ มักจะตุกติกไม่จ่ายชำระ จนทำให้ผู้ค้ำประกันต้องเดือนร้อน บางคนกินอิ่ม นอนอุ่น กินหรู อยู่แพง โชว์หราในโลกออนไลน์ แต่กลับไม่สนใจจ่ายหนี้สินในส่วนนี้เลย ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่เต็มอกว่า คนค้ำประกันกำลังถูกยึดทรัพย์ แต่ก็ทำเป็นไม่สนใจใยดีได้ลงคอ

หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด ถูกฟ้องศาล เตรียมตัวยังไงดี?

ปัญหาของคนมีหนี้สิน ท้ายที่สุด (แต่ไม่สุดท้าย) ก็คือการ “ถูกฟ้องศาล” และเราควรต้องเตรียมตัวยังไงกันดี บางคนไม่มีงานประจำ มีเพียงรายได้จากการรับจ้าง และไม่มีทรัพย์สินใด ๆ ให้ยึด บางคนมีครบหมดทุกอย่าง ทั้งงานประจำและทรัพย์สิน และบางคนอาจมีอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดนี้ จะเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ทำให้เราต้องตัดสินใจ ว่าจะไปศาลหรือไม่ หากไปจะมีข้อได้เปรียบไปต่อสู้ในศาลบ้างหรือเปล่า ในบทความนี้เรามีข้อแนะนำ

ทำไม? ห้ามทยอยจ่ายบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด

“เครดิตบูโร“ ไม่มีใครหรอกที่จะอยากจะมีประวัติเสียตรงนั้น แต่หากเราจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสด ไม่ไหวจริง ๆ การจ่ายบ้าง ไม่จ่ายบ้าง ก็ไม่ใช่คำตอบเช่นเดียวกัน เพราะจะทำให้เสียเปรียบเจ้าหนี้ในหลาย ๆ อย่าง จะมีอะไรบ้างต้องอ่าน 3 ข้อต่อไปนี้

3 ข้อต้องคิด!! อย่าเป็นหนี้เพื่อจ่ายหนี้ จะเครียดเรื่องเงินอย่างมาก

“เป็นหนี้สิน อย่าให้ติดเครดิตบูโร” เป็นคำพูดที่ฝังอยู่ในหัว เมื่อเริ่มเป็นหนี้ในวัยเริ่มหาเงินใช้เองได้ มีน้องคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า พอจ่ายหนี้ขั้นต่ำไม่ไหว เลยไม่จ่ายเอาดื้อ ๆ โดยไม่สนใจเครดิตบูโรอะไรอีกแล้ว เพราะก่อนหน้าหนี้ ก็พยายามหมุนเงินอยู่ตลอด แต่ก็หมุนเงินไม่ทันจริง ๆ ประกอบกับช่วงเวลานั้นไม่ได้ทำงานในระบบประกันสังคม ทางเจ้าหนี้ก็เลยตามหาตัวไม่พบ

มีหนี้สินต้องอ่าน!! 3 ข้อแก้ปัญหาหนี้สินท่วมหัว (เอาตัวรอดได้)

“เครียดเรื่องเงินมากเลยตอนนี้” เชื่อว่าจะเป็นคำบ่นหนึ่ง ของผู้ที่หมุนเงินไม่ไหว อารมณ์นี้เอาเป็นว่าเข้าใจนะ เพราะเคยผ่านมาแล้วเช่นกัน ไม่ใช่แค่ตัวเราหรอก เพื่อน ๆ เราก็เช่นกัน เปลี่ยนกันบ่นให้กันและกันฟัง วนเวียนไปอยู่อย่างนี้  พอพากันเครียดมากเข้า ก็ลงความเห็นตรงกันว่า พอเหอะ พูดเรื่องอื่นกันดีกว่าเนาะ… มันเครียด!!

5 ข้อต้องทำ หลังได้รับอนุมัติสินเชื่อ เพื่อป้องกันปัญหาบานปลาย

เชื่อว่ามากกว่า 95% ไม่มีใครหรอกอยากเป็นหนี้  แล้วอีก 5% ชอบเป็นหนี้งั้นรึ? คำตอบคือ “ไม่น่าจะใช่” เอาแบบกลาง ๆ จะเป็นในเรื่องของการลงทุนมากกว่า หากกิจการดำเนินไปตามที่วางแผนเอาไว้ ก็เอากำไรไปชำระหนี้ ซึ่งเราจะไม่พูดถึง เพราะไกลตัวไปมาก…

ถูกศาลพิพากษาแล้ว กรมบังคับคดีจะเริ่มอายัดเงินเดือนเมื่อไหร่

ขั้นตอนก่อนที่กรมบังคับคดีจะเริ่มอายัดทรัพย์ หรืออายัดเงินเดือน เราต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้ที่จะเริ่มกระบวนการนี้คือเจ้าหนี้ โดยจะเป็นผู้นำคำพิพากษาของศาลไปเขียนคำร้อง และยื่นต่อกรมบังคับคดี เพื่อให้อายัดเงินเดือนของเรา โดยระบุในคำร้องว่า เรา(ลูกหนี้)ไม่ยอมจ่ายหนี้ที่ค้างชำระกันมาเนิ่นนาน ตามที่ศาลได้พิพากษาไปก่อนหน้านี้แล้ว จึงเป็นเหตุผลให้ต้องยื่นคำร้อง พร้อมแนบหลักฐานต่าง ๆ มาด้วย

โดนหมายฟ้องขึ้นศาล หนี้บัตรเครดิตทำไงดี (ที่นี่มีคำตอบ)

หากได้รับหมายฟ้องขึ้นศาลหนี้บัตรเครดิต และก็รู้อยู่แก่ใจว่า ยังไงก็ไม่มีจ่าย เพราะภาระหนี้สินอื่น ๆ ก็ยังมีอีกเยอะ แต่ก็ยังมีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินอยู่ เมื่อได้รับหมายฟ้องก็จะรู้สึกกลัว โดยเฉพาะกลัวการติดคุก ต้องบอกก่อนว่า หนี้บัตรเครดิตเป็นคดีเพ่ง ไม่มีการติดคุกใด ๆ ทั้งสิ้น